รายละเอียด |
ในปีนี้ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังอีกวาระหนึ่งด้วย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 ได้ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีทรงเป็นประธาน โดยทางคณะกรรมการได้กราบบังคมทูลขอจัดสร้าง พระเครื่อง "เหรียญพระแก้วมรกต" ขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกกับผู้ที่ร่วมทำบุญสมทบทุนบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดารามในครั้งนี้ด้วย
..โดยลักษณะของเหรียญ จัดสร้างเป็น 3 แบบ คือ
-เหรียญ พระแก้วมรกตทรงเครื่องฤดูร้อน หลังพระปรมาภิไธย ภปร.
-เหรียญ พระแก้วมรกตทรงเครื่องฤดูฝน หลังพระปรมาภิไธย ภปร.
-เหรียญ พระแก้วมรกตทรงเครื่องฤดูหนาว หลังพระปรมาภิไธย ภปร.
จำนวนการจัดสร้างประมาณ 1,000,000 เหรียญ
พิธีมหาพุทธาภิเษกใหญ่ ณ. พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม ปี พ.ศ. 2524 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
โดยนิมนต์พระเถราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมาทำพิธีพุทธาภิเษกดังมีรายนามดังต่อไปนี้
-สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “สมเด็จพระญาณสังวร (สุวัฑฒน มหาเถระ) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
-พระมงคลราชมุนี (สุพจน์ โชติปาโล) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
-พระราชสังวรญาณ (สนิท ถิรสินิทฺโธ) วัดศีลขันธาราม อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
-หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
-หลวงพ่ออุตตมะ อุตฺตมงฺกโร วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
-พระครูพิพิธพัชรศาสน์ (หลวงพ่อจ้วน) วัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
-หลวงพ่อสุด วัดกาหลง อ.เมือง จ.เพชรบุรี
-พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
-พระครูประดิษฐ์นวการ วัดวังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
-พระครูญาณวิจักขณ์ (พระอาจารย์ผ่องจินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
ในเวลาเดียวกันนี้ได้มีการให้พระเกจิอาจารย์ที่อยู่ต่างจังหวัดที่ไม่ได้มาร่วมพิธี ได้ช่วยสวดมนต์และแผ่บารมีมายังพิธีปลุกเสกด้วย
เมื่อการจัดสร้างเหรียญแล้วเสร็จสมบูรณ์ ได้ประกอบพระราชพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2524 ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว โดย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทรงเป็นประธาน พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระมหาเถระ 10 รูป นั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตในมณฑลพิธีราชวัตรฉัตรธง ประกอบด้วย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “สมเด็จพระญาณสังวร (สุวัฑฒน มหาเถระ) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ, พระมงคลราชมุนี (สุพจน์ โชติปาโล) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ, พระราชสังวรญาณ (สนิท ถิรสินิทฺโธ) วัดศีลขันธาราม อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่ออุตตมะ อุตฺตมงฺกโร วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี, พระครูพิพิธพัชรศาสน์ (หลวงพ่อจ้วน) วัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี, หลวงพ่อสุด วัดกาหลง อ.เมือง จ.เพชรบุรี, พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร, พระครูประดิษฐ์นวการ วัดวังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี และ พระครูญาณวิจักขณ์ (พระอาจารย์ผ่องจินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
...ในเวลาเดียวกันนี้ พระภาวนาจารย์และพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วราชอาณาจักรอีก 90 รูป ได้ร่วมพิธีนั่งปรกเจริญภาวนาแผ่จิตตานุภาพ ณ วัดที่ประจำอยู่ ส่งพลังจิตภาวนารวมเป็นหนึ่งเดียวส่งไปยัง “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม” มีอาทิ หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม, หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง, หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย, หลวงพ่อไพบูลย์ วัดรัตนวนาราม (อนาลโย) จ.พะเยา
หลวงพ่อสงฆ์ จันทสโร วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร, หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์, หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร, หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น, หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง, หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด, หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี, หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ ฯลฯ
พร้อมกันนี้ ได้เปิดให้ประชาชนทั่วประเทศสั่งจองผ่านธนาคารพาณิชย์ในวันเดียวกัน ปรากฏว่าเหรียญที่จัดสร้างจำนวน 1,000,000 เหรียญ ถูกจองหมดอย่างรวดเร็ว ประชาชนที่พลาดการจองเรียกร้องให้คณะกรรมการดำเนินงานการจัดสร้างเพิ่มเติมอีก คณะกรรมการฯ จึงต้องกราบบังคมทูลขอพระราชทานสร้างชุดที่ 2 ขึ้น ทั้งนี้ พระองค์พระราชทานพระราชวินิจฉัย โปรดฯ ให้เพิ่มข้อความ “พระราชศรัทธา” ไว้ใต้ตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” เพื่อเป็นการจำแนกระหว่างการสร้าง “ครั้งแรก” กับ “ครั้งที่สอง” และประกอบพระราชพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2524
เหรียญพระแก้วมรกต ภปร ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2525 จึงนับสิ่งมงคลล้ำค่าแทนความทรงจำอันยิ่งใหญ่แห่งการผนึกพลัง “ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์” ที่ทุกคนต่างหวงแหนและเก็บรักษาไว้เป็นเกียรติประวัติสืบต่อลูกหลานครับผม(ขอขอบคุณขอมูลจากgoogle)
..ชุดนี้สภาพยังสวย มาครบ 3 เหรียญ (บล๊อคนิยม)รับประกันแท้ตลอดชีพ |